กรอบแนวคิดและทิศทางการดำเนินการนิเทศ
การกำหนดทิศทางการดำเนินการนิเทศ ได้พิจารณาให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ดังนี้
- บทบาทหน้าที่ของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (2553) เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้กำหนดขอบข่ายและภารกิจหน้าที่กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ไว้ดังนี้
- นิเทศ การบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ส่งเสริมให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
- ส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาชาติ
- ส่งเสริมการพัฒนา การวัดและประเมินผลการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาให้มีคุณภาพ
- พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา
- ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและพัฒนาให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐาน
โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตร การสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
- วิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษารวมทั้งประเมิน ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
- นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทาง การศึกษา
- ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ตาราง 1 บทบาทหน้าที่และแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบและประเมินผลและนิเทศการจัดการศึกษา
บทบาทหน้าที่ |
แนวทางการดำเนินงาน |
1. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมากำหนดเป็นแนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการของ หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
|
1.1 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
1.2 ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา |
2. กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์วิจัย การบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา | 2.1 เสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยการบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยการบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา 2.3 ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์วิจัยด้านการบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2.4 รับทราบรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์วิจัยการบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |
3. พิจารณาแผนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา | 3.1 ส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลสารสนเทศและผลการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยมาใช้ในการจัดทำแผนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา
3.2 ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการจัดทำแผนการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา 3.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษา |
4. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผนที่กำหนด | 4.1 ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษา
4.2 เสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา 4.3 ร่วมกับคณะอนุกรรมการในการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาตามแผนที่กำหนด |
5. รับทราบผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง | 5.1 ส่งเสริมให้มีการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลและ นิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน
5.2 สนับสนุนให้มีการจัดทำสรุปรายงานประจำปี เพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน 5.3 ให้ข้อเสนอแนะและส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลสารสนเทศจากการรายงานไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง |
6. ส่งเสริมให้มีการประสานคณะกรรมการอื่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | 6.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการประสานกับคณะกรรมการอื่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.2 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง |
ตามบทบาท หน้าที่และแนวทางดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น มีผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาในฐานะกรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยกลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา ทำหน้าที่ดังนี้
- ใช้และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารและการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษา
- เสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- เสนอแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- เสนอรายงานการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารและการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- จัดทำและเสนอแผนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา
- เสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา
- ร่วมกับคณะอนุกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา
- เสนอแนวทาง ข้อเสนอแนะ จากรายงานการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรายงานการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา
- เสนอรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาประจำปี
- ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประชุมของคณะกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษา
- ประสานงานกับคณะกรรมการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ในการดำเนินการนิเทศ ดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรชั้นนำในการนิเทศและพัฒนาคุณภาพการจัดศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
พันธกิจ
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
- วิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งประเมิน ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
- นิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
- ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
เป้าประสงค์
- ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ครูมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
- ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีศักยภาพการแข่งขัน ในระดับสากล
- ศึกษานิเทศก์มีศักยภาพในการนิเทศอย่างเป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้นำทางวิชาการ
- กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สามารถบริหารจัดการความรู้และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 นิเทศโดยทางสายกลางที่คำนึงถึงผลกระทบแบบองค์รวม (เป้าประสงค์ข้อที่ 1, 2, 4 )
กลยุทธ์ที่ 2 มุ่งสัมฤทธิผลและความเป็นเลิศของสถานศึกษา (เป้าประสงค์ข้อที่ 1, 2, 3)
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ (เป้าประสงค์ข้อที่ 1, 2 )
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
- แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การนิเทศการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้การจัดการศึกษาบรรลุผลตามเป้าหมายแห่งภารกิจของหน่วยงานทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา ในการดำเนินการนิเทศดังกล่าว ต้องเป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึงทั้งระบบครบวงจร หรือที่เรียกว่าเป็น การนิเทศเชิงระบบ อันหมายถึง การทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ ที่ครอบคลุมถึงภารกิจของสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป
เมื่อมองถึงวิถีและมิติความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน การนิเทศเชิงระบบเป็นการนิเทศที่อาศัยความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศ (ศึกษานิเทศก์) กับหน่วยงาน องค์การ บุคลากร ตลอดจนปัจจัยอื่นที่มากกว่าหนึ่งมิติ มีการปฏิบัติงานทั้งโดยทีมสัมพันธ์ และรายบุคคล ประการสำคัญต้องมีความรับผิดชอบในภารกิจ การปฏิบัติงาน มุ่งเน้นสัมฤทธิผลของหน่วยงานเป็นสำคัญ ซึ่งแสดงมิติความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ดังภาพ 1 และ 2
ภาพ 1 รูปแบบการนิเทศเชิงระบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
ภาพ 2 กระบวนการนิเทศเชิงระบบ
3.1 แนวทางการนิเทศระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ทบทวน ทำความเข้าใจในภารกิจของสถานศึกษาในด้านยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนงาน โครงการ และเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
- ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ จากการประเมินสถานศึกษาในการเร่งรัดพัฒนาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นรายสถานศึกษา เป็นพื้นฐานในการนิเทศเพื่อ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา
- ใช้ยุทธศาสตร์การนิเทศแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลายช่องทาง หรือยุทธศาสตร์การนิเทศที่กำหนดขึ้น ในการดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา
- ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษาเพื่อใช้ประกอบการนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของศึกษานิเทศก์
- ประเมินผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา จัดลำดับคุณภาพของการพัฒนาเพื่อประกอบการยกย่องเชิดชูเกียรติและการดำเนินการนิเทศในปีการศึกษาต่อๆ ไป
- สรุปและรายงานผลการดำเนินการ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทราบ
3.2 แนวทางการนิเทศระดับสถานศึกษา
- ส่งเสริม นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้มีการนำผลการประเมินแจ้งให้คณะครู นักเรียนและ ผู้เกี่ยวข้องทราบ
- ส่งเสริม นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้มีการประชุมปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ผล การประเมินโดยดำเนินการ ดังนี้
(1) วิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุ องค์ประกอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
(2) วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน
- ส่งเสริม นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาระดับสถานศึกษาโดยดำเนินการ ดังนี้
- กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกัน
- นำเสนอรูปแบบวิธีการพัฒนาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ประสบผลสำเร็จ
- โรงเรียนจัดทำแผนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.3 แนวทางการนิเทศระดับห้องเรียน
- ส่งเสริม นิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ดังนี้
1.1 จัดการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับสาระการเรียนรู้หลัก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และบูรณาการสาระการเรียนรู้อื่นๆ ดังนี้
1.1.1 จัดทำหน่วยการเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.1.2 การประเมินผู้เรียนก่อนสอน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียน
1.1.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
1.1.4 มีการวัดประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อปรับปรุงพัฒนานักเรียน ปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน
1.1.5 มีการวัดประเมินผลหลังสอนเพื่อซ่อมเสริมและแก้ปัญหา นำข้อค้นพบมาปรับปรุงวิธีการสอน
1.2 ส่งเสริมให้มีการนิเทศภายในและนิเทศ ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1.2.1 ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ และบันทึกหลังการสอนเพื่อให้ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระหลัก
1.2.2 นิเทศภายในอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (ใช้หลักกัลยาณมิตร)
1.2.3 คัดเลือกสื่อการเรียนการสอน หนังสือ แบบเรียน แบบฝึกหัดที่นำมาใช้ในโรงเรียนโดยเน้นยึดหลักสูตรสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมของครู
1.2.4 รับฟังแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนจากบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
1.2.5 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดทำแบบฝึก แบบทดสอบเสริม
1.2.6 สร้างขวัญกำลังใจให้ครูที่ปฏิบัติงานหน้าที่สอน เสียสละ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจและอยู่กับนักเรียน
1.3 ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง องค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการพัฒนานักเรียนด้านการเรียนรู้ เช่น
1.3.1 จัดให้มีโครงการเยี่ยมบ้านร้อยเปอร์เซ็นต์
1.3.2 จัดกิจกรรมสายสัมพันธ์ศิษย์ลูก
- ส่งเสริม นิเทศ ติดตาม การซ่อมเสริมนักเรียนตามความต้องการ ดังนี้
2.1 พัฒนาระบบสารสนเทศการคัดกรองและการสอนซ่อมเสริมนักเรียน
2.1.1 จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
2.1.2 ดำเนินการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศตามแนวทางมาตรการในโครงการอ่านออกเขียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์และการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
2.1.3 ประเมินยุทธศาสตร์/แผนงาน/โครงการที่ปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.1.4 สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อการซ่อมเสริมพัฒนาศักยภาพนักเรียน
2.1.5 จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศ สมุดบันทึกการสอนซ่อมเสริม
2.2 ซ่อมเสริมนักเรียนตามกลุ่มความต้องการ
2.2.1 จัดให้มีโครงการการซ่อมเสริมนักเรียน โดยอาจจัดในชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม ( สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง)
2.2.2 จัดชั่วโมงซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนบกพร่องทางด้านการเรียน
2.2.3 จัดให้ครูดำเนินการสอนพิเศษนักเรียนนอกเวลาเรียนทุกคน/ทุกสัปดาห์
2.2.4 จัดให้มีผู้รับผิดชอบนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการและให้ขวัญกำลังใจ
- ส่งเสริม นิเทศ ติดตาม ความเป็นเลิศทางวิชาการ
3.1 พัฒนาทักษะการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มสาระหลัก
3.1.1 จัดตั้งชุมนุมและกำหนดให้ครูทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบ จำนวนสมาชิก รายชื่อสมาชิก แผนการดำเนินการชุมนุมในการฝึกปฏิบัติกิจกรรมและทักษะการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
3.1.2 จัดให้ผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบติดตาม นิเทศและให้การสนับสนุนการดำเนินการ
3.1.3 จัดทำระบบสารสนเทศการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยฝ่ายวิชาการ
3.1.4 จัดทำ/จัดหาแบบฝึกหัด/สื่อนวัตกรรม ICT มาใช้ในการฝึกปฏิบัติกิจกรรมและทักษะการเรียนรู้ การแสวงหาคำตอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
3.1.5 จัดทำ/จัดหาแบบทดสอบที่ใกล้เคียงกับแบบทดสอบของสำนักทดสอบและจัดสอบให้แก่นักเรียนในชั้นปีที่ 3 ของทุกช่วงชั้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
3.2 ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศตาม ความถนัดและกลุ่มสนใจ
3.2.1 จัดโครงการ/กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินการให้นักเรียนมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ ตามความถนัด ความสนใจ
3.2.2 จัดกิจกรรมประกวดแข่งขันทักษะวิชาการในโรงเรียน
- ส่งเสริมการวัดผลประเมินผลทางการเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
4.1 ส่งเสริมการวัดผลประเมินผล เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
4.1.1 จัดให้มีการวัดประเมินผลการเรียนของนักเรียน ก่อน ระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ข้อสอบ แบบสังเกต การสัมภาษณ์ ผลงานเชิงประจักษ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
4.1.2 จัดให้ผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการติดตาม นิเทศ ให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
4.1.3 จัดทำระบบสารสนเทศการวัดประเมินผลการเรียนการสอนและนำมาใช้เป็นข้อมูลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
- ส่งเสริมนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
5.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียนและรักการค้นคว้า เท่าทันเทคโนโลยี นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
5.1.1 จัดให้นักเรียนใช้ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอย่างถูกวิธี
5.1.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยการจัดหาหนังสือ/สื่อ ICT/แหล่ง การเรียนรู้ที่นักเรียนสนใจในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอย่างต่อเนื่อง
5.1.3 จัดให้ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคนเน้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักและมีการรายงานผลทุกสัปดาห์/เดือน
5.2 ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีการศึกษาค้นคว้าและรู้เท่าทันเทคโนโลยี
5.2.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำผลการประเมินนักเรียนมาพัฒนางาน
5.2.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
5.2.3 จัดประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ตามระดับช่วงชั้น เทคนิคการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อ/เทคโนโลยีในการสอน การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงที่ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีการใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าแสวงหาและการพัฒนาตนเอง
- ยุทธศาสตร์การนิเทศ
- ใช้การปฏิบัติการนิเทศ 3 รูปแบบเพื่อการพัฒนาครูและสถานศึกษา ได้แก่ การนิเทศหลัก การนิเทศร่วมพัฒนาและการนิเทศเสริม
- ส่งเสริมให้เกิดการนิเทศภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็งเพื่อการติดตามประเมินผล การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- ใช้เครือข่ายครูต้นแบบ สถานศึกษาต้นแบบและสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาครูและสถานศึกษา
- ใช้เครือข่าย ICT เพื่อเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา
- ใช้เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นและศูนย์พัฒนาวิชาการปฐมวัย ศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งดำเนินการจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียนและการจัดการศึกษาทุกระดับ เพื่อการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
- ใช้การประเมินคุณภาพครู ตามภารกิจด้านหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ประกอบการยกย่องเชิดชูเกียรติ และการดำเนินการนิเทศ ในปีการศึกษาต่อๆ ไป
- จุดเน้นการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปี 2563
จุดเน้นด้านผู้เรียน
- นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ สู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
– นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม
– นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นต้นไป ได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้วยการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่างๆ (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบสัมมาชีพในอนาคต
– นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
- นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภูมิใจในความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม
– นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ใฝ่ดี
– นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ใฝ่เรียนรู้
– นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่อย่างพอเพียง
– นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน
- นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริม และพัฒนาเต็มศักยภาพ
– เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
– เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรและอัตลักษณ์แห่งตน
– นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ
– นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชน และสถานศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
– เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะ ผ่านการปฏิบัติจริงและ การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
– ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด การวัดประเมินผลของครูให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนเป็นรายบุคคล
– ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี
– ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู ทั้งในโรงเรียนเดียวกันหรือระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
– ครูได้รับการช่วยเหลือให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน ระหว่างโรงเรียน หรืออื่นๆ
– ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนรู้ในระดับดี
- พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็น ต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน
- ครูที่เป็นมืออาชีพ มีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ อย่างเหมาะสม
จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
- สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เน้นการมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน (Participation and Accountability)
โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไขแทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และเป็นผู้ประสานงานหลัก ให้โรงเรียนทำแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
– สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และการมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน มีระบบการนิเทศ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลสถานศึกษาและครูที่เข้มแข็ง
– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนสูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/ มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง
– องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เร่งรัดและติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็ง เป็นกัลยาณมิตร
- สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีระบบประกันคุณภาพภายในได้ระดับมาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหรือผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ทิศทางและจุดเน้นการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
กลุ่มนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 โดยกลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ได้ขออนุมัติคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษากำหนดการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ไว้ 9 เรื่อง ดังนี้
- ห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษา
- การยกระดับภาษาอังกฤษ
- โรงเรียนคุณธรรมในสถานศึกษา
- STEM Education
- การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนขั้นพื้นฐาน
- ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
- การจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน
- การขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
- การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ภาพ 3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ของ สพป.ลำพูน เขต 1